- 13 ความคิดเห็น
Blogger : สวัสดีครับท่านแอดมิน แหม่ ไม่ได้เจอกันนานเลยน่ะ
แอดมิน : เอ้า ! Blogger สวัสดีๆ พอดีช่วงนี้แอดมินไม่ค่อยว่างอ่ะ พอดีติดสอบ (ขี้เกียจต่างหากล่ะ 55)
แอดมิน : วันนี้ว่าจะมาอัพบทความซะหน่อย
Blogger : อารมณ์ไหนจะมาอัพบทความล่ะ ?
แอดมิน : ก็สอบเสร็จแล้วไง (เปล่าหรอก วันนี้ขยันต่างหากละ 5555)
Blogger : ได้ๆ อัพบทความได้ตามสบายเลยนะ ไม่ต้องเกรงใจ
แอดมิน : Ok
ถ้ามุขฝืดก็ขออภัยด้วยนะครับ ฮาๆๆๆ สวัสดีอย่างเป็นทางการอีกครั้งนะครับ หลังจากไม่ได้อัพบทความมานานมากแล้ว วันนี้มีไอเดียดีๆ ที่จะมาอัพบทความ เพื่อแบ่งปันความรู้ดีๆ สู่สังคม ^^ วันนี้แอดมินจะเขียนบทความเล่าเรื่องโปรเจคจบของแอดมินเอง กว่าจะสำเร็จก็เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็น นั่งร้องไห้ นอนร้องไห้ ไม่รู้กี่รอบ (โอเวอร์ไปละๆ)
กลุ่มโปรเจคของแอดมินมีอยู่ด้วยกัน 3 คน พวกเราทำโปรเจคเรื่อง ระบบตรวจจับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ (Motorcycle Safety Helmet Detection System) ซึ่งจะใช้ Image process ในการ Implement โปรเจคนี้ครับ ที่มาของโปรเจคนี้ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ เพราะตอนสมัย ปี 3 เทอมปลาย เป็นช่วงที่แอดมินจะต้องเลือก / คิด หัวข้อโปรเจค ส่งอาจารย์ มีอยู่วันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันที่ อาจารย์ในภาคจะรวมกลุ่มกัน แล้วให้นิสิตมานั่งฟังหัวข้อโปรเจคที่อาจารย์แต่ละท่านสนใจ มีอยู่อาจารย์ท่านหนึ่งเสนอหัวข้อโปรเจคเรื่อง ระบบตรวจจับหมวกกันน็อค แค่ได้ยินแค่นั้นล่ะครับ ความคิดชั่วร้ายก็บังเกิดภายในหัวแอดมิน "เฮ้ย เราจะทำโปรเจคนี้แหละ ทำไว้แกล้งรุ่นน้อง ตอนมีคนขับรถแล้วไม่ใส่หมวกจะได้โดนจับ ฮาๆๆๆ" ชั่วจริงๆ ครับ
นี้แหละครับที่มาของโปรเจคนี้ ^_^
เมื่อแอดมินได้ตกลงปลงใจ กับอาจารย์เรื่องโปรเจคดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว แอดมินก็ต้องไปฝึกงานช่วงซัมเมอร์ ภายในช่วงฝึกงาน แอดมินก็แอบเอาเวลาไปศึกษาเรื่องโปรเจคนี้บ้าง นั่งคิด นอนคิด ว่าจะเริ่มทำยังไงดี ความรู้เรื่อง image processing ก็ไม่มีสักนิดเลย แอดมินค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนเริ่มรู้แล้วว่า tool ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมทางด้าน image processing หลักๆ มีอยู่ 3 ตัวคือ Matlab , OpenCv และ Emgu
จนฝึกงานเสร็จ เปิดภาคเรียนปี 4 เทอม 1 แอดมินและเพื่อนๆ ก็เข้าไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่องโปรเจคนี้แหละครับ ว่าจะเลือกใช้ tool ตัวไหนดี อาจารย์ก็แนะนำมาว่า
Matlab : เขียนง่าย แต่พอทำ real time แล้วจะใช้เวลาประมวลผลค่อนข้างช้า
Opencv : ซับซ้อนนิดหน่อย เหมาะกับโปรแกรมที่รันแบบ Real time ส่วนใหญ่ใช้ C,C++
Emgu : เหมือน OpenCV เลย แต่ใช้ C# แทน
เท่านั้นแหละครับ แอดมินเลือก Matlab เลย 5555+ ป่าวครับกลุ่มของแอดมินเลือก Emgu ต่างหากล่ะ ใจจริงก็อยากเลือก Matlab นะ แต่โปรเจคนี้ต้องรันแบบ Real time เลยอดไป ^_^
หลังจากนั้น กลุ่มของแอดมินก็มานั่งปรึกษาหารือ (ออกแนวเชิงทะเลาะกัน 555) เรื่องโปรเจคกัน หัวข้อก็จะเป็นพวก แบ่งงานกันทำ ซึ่งพวกเราใช้วิธี แตกระบบงานใหญ่ๆ ให้เป็นงานย่อยๆ แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบ ได้ดังนี้ครับ
เพื่อน(ชาย): ทำในเรื่อง background subtraction และ classifier รถจักรยานยนต์
แอดมิน: ทำในเรื่องนับจำนวนคนบนรถจักรยานยนต์ และหาตำแหน่งศีรษะของคนบนรถ
เพื่อน(ญ): classifier หมวกกันน็อค และดูแลเรื่องเอกสารต่างๆ
กลุ่มของแอดมินก็ทำงานกันมาเรื่อยๆ โดยไม่มีปัญหาการอู้งานเลย เพราะอู้งานที อู้ทั้งกลุ่ม 555+ พวกเราทำงานกันเป็นระบบ Parallel หกล้มคลุกคลานบ้างเป็นบางครั้ง มีบางเวลางานไม่เดิน และก็มีบางเวลางานเดินไวมาก จนสุดท้ายเราก็เอาระบบย่อยๆทั้งสาม มารวมกันจนเป็นระบบใหญ่ และมันก็เสร็จสมบูรณ์ ฮิ้วๆๆๆ
โปรเจคเสร็จแล้ว แต่งานยังไม่จบนะครับ กลุ่มของแอดมินได้ส่งโปรเจคเข้าประกวดของคณะด้วยนะครับ และก็ได้รางวัลที่ 2 แน่ะ โหดป่ะละ ฮาๆๆ ยังไม่จบนะครับ และได้ส่งโปรเจคเข้าประกวดในระดับมหาวิทยาลัยต่อ ได้รางวัลที่ 1 ด้วยแหละ ฮาๆ ไม่รู้ได้มาอย่างไร พูดก็ไม่รู้เรื่อง (แอดมินเป็นคนพูดไม่รู้เรื่องจริงๆ น่ะ) และงานสุดท้ายกลุ่มของแอดมินได้ส่ง paper เข้าประกวดในงาน The 2013 Second ICT International Student Project Conference ด้วยนะครับ และตอนนี้ paper ที่ส่งไปได้รับการตีพิมพ์ด้วยแหละ^_^
แอดมินจะนำเสนอข้อมูลโปรเจคของแอดมินแบบคร่าวๆ ละกันนะครับ
ชื่อภาษาไทย: ระบบตรวจจับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ชื่อภาษาอังกฤษ: Motorcycle Safety Helmet Detection System
ทีมพัฒนา: นายชัยณรงค์ แตงน้อย (Chainarong Tangnoi)
นางสาวนันท์นภัส บุญดล (Nannaphat Bundon)
นายวสันต์ ทิมทอง (Vasan Timtong)
อาจารย์ที่ปรึกษา : นายรัฐภูมิ วรานุสาสน์ (Rattapoom Waranusast)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประสิทธิภาพของระบบ :
- แยกรถจักรยานยนต์ กับ รถยนต์ ได้
- ตรวจจับได้ทั้งสอง เลนถนน
- ตรวจจับได้ทั้งคนขับ และคนซ้อน
- ประมวลผลแบบ real time
การประกวดและรางวัล
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน Engineering Student Project 2013
- ชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน NU Innovative Student Projects 2013
- ส่ง paper เข้าร่วมงาน The 2013 Second ICT International Student Project Conference (ICT-ISPC 2013), Mahidol University. และได้รับการตีพิมพ์แล้ว
ตัวอย่าง
แอดมิน : เอ้า ! Blogger สวัสดีๆ พอดีช่วงนี้แอดมินไม่ค่อยว่างอ่ะ พอดีติดสอบ (ขี้เกียจต่างหากล่ะ 55)
แอดมิน : วันนี้ว่าจะมาอัพบทความซะหน่อย
Blogger : อารมณ์ไหนจะมาอัพบทความล่ะ ?
แอดมิน : ก็สอบเสร็จแล้วไง (เปล่าหรอก วันนี้ขยันต่างหากละ 5555)
Blogger : ได้ๆ อัพบทความได้ตามสบายเลยนะ ไม่ต้องเกรงใจ
แอดมิน : Ok
ถ้ามุขฝืดก็ขออภัยด้วยนะครับ ฮาๆๆๆ สวัสดีอย่างเป็นทางการอีกครั้งนะครับ หลังจากไม่ได้อัพบทความมานานมากแล้ว วันนี้มีไอเดียดีๆ ที่จะมาอัพบทความ เพื่อแบ่งปันความรู้ดีๆ สู่สังคม ^^ วันนี้แอดมินจะเขียนบทความเล่าเรื่องโปรเจคจบของแอดมินเอง กว่าจะสำเร็จก็เล่นเอาเลือดตาแทบกระเด็น นั่งร้องไห้ นอนร้องไห้ ไม่รู้กี่รอบ (โอเวอร์ไปละๆ)
กลุ่มโปรเจคของแอดมินมีอยู่ด้วยกัน 3 คน พวกเราทำโปรเจคเรื่อง ระบบตรวจจับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ (Motorcycle Safety Helmet Detection System) ซึ่งจะใช้ Image process ในการ Implement โปรเจคนี้ครับ ที่มาของโปรเจคนี้ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไหร่ เพราะตอนสมัย ปี 3 เทอมปลาย เป็นช่วงที่แอดมินจะต้องเลือก / คิด หัวข้อโปรเจค ส่งอาจารย์ มีอยู่วันหนึ่ง ซึ่งเป็นวันที่ อาจารย์ในภาคจะรวมกลุ่มกัน แล้วให้นิสิตมานั่งฟังหัวข้อโปรเจคที่อาจารย์แต่ละท่านสนใจ มีอยู่อาจารย์ท่านหนึ่งเสนอหัวข้อโปรเจคเรื่อง ระบบตรวจจับหมวกกันน็อค แค่ได้ยินแค่นั้นล่ะครับ ความคิดชั่วร้ายก็บังเกิดภายในหัวแอดมิน "เฮ้ย เราจะทำโปรเจคนี้แหละ ทำไว้แกล้งรุ่นน้อง ตอนมีคนขับรถแล้วไม่ใส่หมวกจะได้โดนจับ ฮาๆๆๆ" ชั่วจริงๆ ครับ
นี้แหละครับที่มาของโปรเจคนี้ ^_^
เมื่อแอดมินได้ตกลงปลงใจ กับอาจารย์เรื่องโปรเจคดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว แอดมินก็ต้องไปฝึกงานช่วงซัมเมอร์ ภายในช่วงฝึกงาน แอดมินก็แอบเอาเวลาไปศึกษาเรื่องโปรเจคนี้บ้าง นั่งคิด นอนคิด ว่าจะเริ่มทำยังไงดี ความรู้เรื่อง image processing ก็ไม่มีสักนิดเลย แอดมินค้นหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนเริ่มรู้แล้วว่า tool ที่ใช้พัฒนาโปรแกรมทางด้าน image processing หลักๆ มีอยู่ 3 ตัวคือ Matlab , OpenCv และ Emgu
จนฝึกงานเสร็จ เปิดภาคเรียนปี 4 เทอม 1 แอดมินและเพื่อนๆ ก็เข้าไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่องโปรเจคนี้แหละครับ ว่าจะเลือกใช้ tool ตัวไหนดี อาจารย์ก็แนะนำมาว่า
Matlab : เขียนง่าย แต่พอทำ real time แล้วจะใช้เวลาประมวลผลค่อนข้างช้า
Opencv : ซับซ้อนนิดหน่อย เหมาะกับโปรแกรมที่รันแบบ Real time ส่วนใหญ่ใช้ C,C++
Emgu : เหมือน OpenCV เลย แต่ใช้ C# แทน
เท่านั้นแหละครับ แอดมินเลือก Matlab เลย 5555+ ป่าวครับกลุ่มของแอดมินเลือก Emgu ต่างหากล่ะ ใจจริงก็อยากเลือก Matlab นะ แต่โปรเจคนี้ต้องรันแบบ Real time เลยอดไป ^_^
หลังจากนั้น กลุ่มของแอดมินก็มานั่งปรึกษาหารือ (ออกแนวเชิงทะเลาะกัน 555) เรื่องโปรเจคกัน หัวข้อก็จะเป็นพวก แบ่งงานกันทำ ซึ่งพวกเราใช้วิธี แตกระบบงานใหญ่ๆ ให้เป็นงานย่อยๆ แล้วแบ่งงานกันรับผิดชอบ ได้ดังนี้ครับ
เพื่อน(ชาย): ทำในเรื่อง background subtraction และ classifier รถจักรยานยนต์
แอดมิน: ทำในเรื่องนับจำนวนคนบนรถจักรยานยนต์ และหาตำแหน่งศีรษะของคนบนรถ
เพื่อน(ญ): classifier หมวกกันน็อค และดูแลเรื่องเอกสารต่างๆ
กลุ่มของแอดมินก็ทำงานกันมาเรื่อยๆ โดยไม่มีปัญหาการอู้งานเลย เพราะอู้งานที อู้ทั้งกลุ่ม 555+ พวกเราทำงานกันเป็นระบบ Parallel หกล้มคลุกคลานบ้างเป็นบางครั้ง มีบางเวลางานไม่เดิน และก็มีบางเวลางานเดินไวมาก จนสุดท้ายเราก็เอาระบบย่อยๆทั้งสาม มารวมกันจนเป็นระบบใหญ่ และมันก็เสร็จสมบูรณ์ ฮิ้วๆๆๆ
โปรเจคเสร็จแล้ว แต่งานยังไม่จบนะครับ กลุ่มของแอดมินได้ส่งโปรเจคเข้าประกวดของคณะด้วยนะครับ และก็ได้รางวัลที่ 2 แน่ะ โหดป่ะละ ฮาๆๆ ยังไม่จบนะครับ และได้ส่งโปรเจคเข้าประกวดในระดับมหาวิทยาลัยต่อ ได้รางวัลที่ 1 ด้วยแหละ ฮาๆ ไม่รู้ได้มาอย่างไร พูดก็ไม่รู้เรื่อง (แอดมินเป็นคนพูดไม่รู้เรื่องจริงๆ น่ะ) และงานสุดท้ายกลุ่มของแอดมินได้ส่ง paper เข้าประกวดในงาน The 2013 Second ICT International Student Project Conference ด้วยนะครับ และตอนนี้ paper ที่ส่งไปได้รับการตีพิมพ์ด้วยแหละ^_^
แอดมินจะนำเสนอข้อมูลโปรเจคของแอดมินแบบคร่าวๆ ละกันนะครับ
ชื่อภาษาไทย: ระบบตรวจจับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ชื่อภาษาอังกฤษ: Motorcycle Safety Helmet Detection System
ทีมพัฒนา: นายชัยณรงค์ แตงน้อย (Chainarong Tangnoi)
นางสาวนันท์นภัส บุญดล (Nannaphat Bundon)
นายวสันต์ ทิมทอง (Vasan Timtong)
อาจารย์ที่ปรึกษา : นายรัฐภูมิ วรานุสาสน์ (Rattapoom Waranusast)
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประสิทธิภาพของระบบ :
- แยกรถจักรยานยนต์ กับ รถยนต์ ได้
- ตรวจจับได้ทั้งสอง เลนถนน
- ตรวจจับได้ทั้งคนขับ และคนซ้อน
- ประมวลผลแบบ real time
การประกวดและรางวัล
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน Engineering Student Project 2013
- ชนะเลิศอันดับ 1 ในงาน NU Innovative Student Projects 2013
- ส่ง paper เข้าร่วมงาน The 2013 Second ICT International Student Project Conference (ICT-ISPC 2013), Mahidol University. และได้รับการตีพิมพ์แล้ว
ตัวอย่าง
สุดท้ายแอดมินต้องขอขอบคุณอาจารย์รัฐภูมิ วรานุสาสน์ ที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะดีๆ มาโดยตลอด ขอบคุณเพื่อนๆ ใน Lab Computer Vision ทุกๆ คนที่ร่วมฝ่าฟันอุปสรรค และให้คำปรึกษามาอย่างดี
13 ความคิดเห็น
แอดมินหล่อจุงเบย >.<
อยากศึกษา คับ มีโค้ดตัวอย่างไหม คับ admin
@chainared sudapad โค๊ดมีครับ แต่ผมคิดว่ามันไม่เหมาะสมเท่าไหร่ครับ เพราะโปรแกรมนี้แลกมาด้วยหยาดเหงื่อ และแรงกายของผมและเพื่อนๆผมครับ ผมถือว่ามันเป็นทรัพย์สินทางปัญญาครับ อีกอย่างโปรเจคกำลังอยู่ในช่วงต่อยอด และเตรียมนำไปใช้จริงครับ ผมขออภัยด้วยนะครับ ที่ไม่สามารถทำตามความต้องการของคุณได้ แต่ถ้าจะศึกษาจริงๆ ผมมี paper และ video ให้ศึกษาครับ สนใจไหมครับ
คับ
ผมเป็น video กับ paper มาศึกษาดีกว่าครับ
ขอ paper หน่อยครับ ผมสนใจเรื่องนี้มานานแล้วครับ wachi22@gmail.com
ลิ้งเปเปอร์ครับ
https://docs.google.com/file/d/0Bzh8DsQCN7ASUE90akd6Y2RtbnM/edit?usp=sharing
สุดยอดมากครับ ^^
งานพี่สุดยอดมากค่ะ แต่ว่าไม่มีการทำของฮาร์ดแวร์เลยใช่มั้ยค่ะในชิ้นงานนี้
hardware ไม่มีครับ software เพียวๆ ครับผม
ต้องขอขอบคุณบทความของพี่มากนะครับที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่กำลังศึกษาเกี่ยวกับ Emgu CV ผมก็เป็นหนึ่งในผู้ศึกษา มันช่างหายากซะเหลือเกินครับบทความทีเกี่ยวกับเจ้านี่ anyway ขอบคุณมากๆครับ
ลองติดต่อ www.nextsoftwarehouse.com ดูครับ
รบกวนขอ video ศึกษากับ paper ด้วยนะคะ กำลังจะทำเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี mokumikuma@gmail.com
Post a Comment